วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผูสอน อาจรย์จินตนา  สุขสำราญ

วันศุกร์ที่  3 ตุลาคม  พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


     ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ ...


         กิจกรรมที่ 1 ... 
           
          อาจารย์ให้ทำสิ่งประดิษฐ์ 





              อุปกรณ์

         1 .กระดาษ
        2. สีเมจิก
        3. ดินสอ
        4. แกนกระดาษทิชชู
        5. กรรไกร
        6. กาว
        7. เชือก
        8.ตู๊ดตู่

             วิธีการทำ

       - ตัดแกนทิชชูออกเป็น 2 ส่วน
       - นำแกนทิชชูมาเจาะรูด้านข้าง 2 รู ด้วยที่เจาะกระดาษ
       - นำไหมพรม ความยาว 1 ช่วงแขนมาร้อยใส่ลงไปในรูของแกนทิชชูทั้ง 2 รู
       - นำกระดาษมาแบ่งออก 1 แผ่น แบ่งได้ 8 ส่วน แล้ววาดเป็นวงกลม 1 วง 
      - วาดรูปตามจินตนาการลงไป 1 ภาพในวงกลม ระบายสีให้สวยงาม แล้วตัดให้เป็นวงกลม
      - นำภาพที่วาดติดลงไปในแกนทิชชู ด้านขวาง

          วิธีการเล่น

      -นำไปคล้องคอแล้วใช้มือทั้งสองข้าง ชักขึ้น-ลง เพื่อให้รูปสัตว์เคลื่อนไหวขึ้น-ลงได้
  จากการสังเกตพบว่า เมื่อชักเชือกขึ้น-ลงๆโดยที่ไม่ก้างไหมพรมออก ภาพสัตว์ก็จะไม่ขึ้นสุด
  ไปถึงคอ แต่เมื่อเรากางไหมพรมออกแล้วชักขึ้น-ลง ปรากฎว่า ภาพสัตว์สามารถเลื่อน
  ขึ้น-ลงได้

          กิจกรรมที่ 2 ... 

            าจารย์ให้เพื่อนที่เตรียมบทความออกมานำเสนอบทความ  ดังนี้

      เรื่องที่ 1 การพัฒนาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
      เรื่องที่ 2 สอนลูกเรื่องแสงและเงา
      เรื่องที่ 3 การสอนเรื่องแรงโน้มถ่วง
      เรื่องที่ 4 การสอนลูกเรื่องไฟฉาย

      




       การนำไปประยุกต์ใช้ ...

          - สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพื้นฐานทักษะทางวิทยาศาสตร์
     ของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี
         -สามารถจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และครูสาธิตให้เด็กได้ดู แล้วให้เด็กลองทำ
        - สามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดเป็นประสบการณ์ให้เด็กได้ศึกษา ทดลองเล่น สังเกต
    เพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ได้อีกด้วย





      วิธีการสอน ...

           อาจารย์ให้เด็กได้รู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักการสังเกต การเปรียบเทียบ ตอนที่
    ทำกิจกรรมอาจารย์ยังไม่บอกว่าจะทำอะไร บอกแค่วิธีการทำแล้วให้นักศึกษาออกมาทำให้
    เพื่อนดูหน้าห้องสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความสงสัย เกิดคำถาม จนเกิดการเรียนรู้แล้วอาจารย์
    ก็จะบอกรายละเอียดเนื้อหาอีกครั้ง





      ประเมินผล ...

         ประเมินตนเอง : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ พร้อมฟังคำชี้แนะของอาจารย์
    เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข
         ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือในกิจกรรมดี นำเสนอบทความด้วยเข้าใจ
         ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนการทำสิ่งประดิษฐ์ที่ง่ายและเข้าใจง่าย เหมาะที่จะนำความรู้
   ที่ได้จากสิ่งประดิษฐ์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยได้ และอาจารย์อธิบายและ
   ยกตัวอย่างบทความของเพื่อนได้อย่างชัดเจน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น