บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผูสอน อาจรย์จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ ...
กิจกรรมที่ 1 ...
อาจารย์ให้ทำสิ่งประดิษฐ์ " กังหันมหัศจรรย์ "
อุปกรณ์
1.กระดาษ
2.กรรไกร
3.คลิปหนีบกระดาษ
วิธีการทำ
-พับกระดาษที่อาจารย์เตรียมไว้ให้ พับครึ่งให้เท่ากัน
-จากนั้นคลี่กระดาษออก แล้วนำกรรไกรตัดกระดาษตามแนวยาวถึงที่พับครึ่ง
-แล้วพับกระดาษแถบที่ไม่ได้ตัดเข้าไปนิดนึง
-นำคลิปหนีบกระดาษมาติด
หลังจากทำกังหันเสร็จ อาจารย์ก็ให้นักศึกษาออกมานำเสนอผลงานที่ตัวเองทำว่าเป็น
อย่างไร โดยให้โยนขึ้นไปบนอากาศแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกังหัน โดยที่แถวที่1-3
ตัดกระดาษให้ถึงกึ่งกลางที่พับไว้ แต่แถวที่4-5 ตัดกระดาษไม่ต้องถึงกึ่งกลาง แล้วออกมาโยน
หน้าชั้นเรียนแล้วให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของแต่ละแถว
อย่างไร โดยให้โยนขึ้นไปบนอากาศแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกังหัน โดยที่แถวที่1-3
ตัดกระดาษให้ถึงกึ่งกลางที่พับไว้ แต่แถวที่4-5 ตัดกระดาษไม่ต้องถึงกึ่งกลาง แล้วออกมาโยน
หน้าชั้นเรียนแล้วให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของแต่ละแถว
เมื่อดิฉันได้สังเกต พบว่า แถวที่ตัดกระดาษถึงครึ่งนั้น เมื่อโยนขึ้นไปในอากาศสิ่งที่เห็นคือ
เมื่อเวลากังหันตกลงมาจะเป็นเกลียวหมุนๆลงมาถึงพื้น แต่เมื่อดิฉันสังเกตแถวที่ตัดกระดาษไม่ถึง
ครึ่งนั้นพบว่าเมื่อโยนกังหันขึ้นไปในอากาศ จะเห็นว่าเมื่อเวลากังหันตกลงมาจะไม่ค่อยหมุน
เป็นเกลียว เพราะว่าแถวที่ตัดกระดาษถึงครึ่งนั้นเมื่อเวลาโยนไปในอากาศแล้วหล่นลงมาจะเกิด
อากาศดันใต้กระดาษ ทำให้เวลาหล่นลงมาอากาศจะดันทำให้หมุนเป็นเกลียวๆ
ครึ่งนั้นพบว่าเมื่อโยนกังหันขึ้นไปในอากาศ จะเห็นว่าเมื่อเวลากังหันตกลงมาจะไม่ค่อยหมุน
เป็นเกลียว เพราะว่าแถวที่ตัดกระดาษถึงครึ่งนั้นเมื่อเวลาโยนไปในอากาศแล้วหล่นลงมาจะเกิด
อากาศดันใต้กระดาษ ทำให้เวลาหล่นลงมาอากาศจะดันทำให้หมุนเป็นเกลียวๆ
กิจกรรมที่ 2 ..
อาจารย์ให้เพื่อนที่เตรียมบทความออกมานำเสนอบทความ ดังนี้
เรื่องที่ 1 วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ของ นางสาวมธุรินทร์ อ่อนพิมพ์
เรื่องที่ 2 วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของ นางสาวจุฑาทิพย์ เขตนิมิตร
เรื่องที่ 3 การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของ นางสาวบุษราคัม สะรุโณ
เรื่องที่ 4 สอนลูกเรื่องอากาศ ของ นางสาวพรวลัญช์ คงสัตย์
เรื่องที่ 5 ฝึกทักษะสังเกตนำลูกสู่วิทยาศาสตร์ ของ นางสาวเนตรนภา ไชยแดง
กิจกรรมที่ 2 ..
อาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมหน่วยการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม
หน่วย "ดอกมะลิ"
หน่วย "ไก่"
หน่วย "ส้ม"
หน่วย "กบ"
หน่วย "แปรงสีฟัน"
หน่วย "ผีเสื้อ"
หน่วย "กล้วย"
หน่วย "กะหล่ำปลี"
หน่วย "ปลา"
การนำไปประยุกต์ใช้ ...
-สามารถความรู้ที่ได้จากสิ่งประดิษฐ์ไปสอนเด็กปฐมวัยได้ เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะ
การสังเกต
-สามารถนำกิจกรรมที่ทำในวันนี้คือ สิ่งประดิษฐ์ กังหันมหัศจรรย์ ไปสอนเด็กให้ประดิษฐ์
ขึ้นมาใหม่ได้ด้วยตัวของเด็กเอง เพื่อให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ในการลงมือกระทำ
ด้วยตนเอง เด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลานและเกิดความคิดรวบยอดรวมทั้งพัฒนาลำดับขั้น
ความคิดของเด็กได้อีกด้วย
-สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนในอนาคตได้เป้นอย่างดี
-สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ที่ได้เรียนในวันนี้ไปจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ มุมวิทยาศาสตร์
ให้กับเด็กปฐมวัยได้
วิธีการสอน ...
อาจารย์ให้เด็กได้รู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักการสังเกต การเปรียบเทียบ ตอนที่
ทำกิจกรรมอาจารย์ยังไม่บอกว่าจะทำอะไร บอกแค่วิธีการทำแล้วให้นักศึกษาออกมาทำให้
เพื่อนดูหน้าห้องสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความสงสัย เกิดคำถาม จนเกิดการเรียนรู้แล้วอาจารย์
ก็จะบอกรายละเอียดเนื้อหาอีกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น