บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผูสอน อาจรย์จินตนา สุขสำราญ
วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ ...
กิจกรรมที่ 1 อาจารย์ให้กลุ่มที่ยังไม่นำเสนอเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาออกมานำเสนอ
แผนการจัดประสบการณ์ เรื่องหน่วยต่างๆ
กลุ่มที่ 7 หน่อย "แปรงฟัน"
ขั้นนำ
ครูนำคำคล้องชนิดของแปรงสีฟัน
แปรงสีฟันมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีดีต่างกัน
แปรงสีฟันไฟฟ้านั้น รวดเร็วพลันใช้ได้อย่างดี
แปรงสีฟันผู้ใหญ่ก็มี สะอาดดีเพราะเราแปรงฟัน
ขั้นสอน
สอนเด็กในเนื้อหาคำคล้องจองมีแปรงสีฟันชนิดไหนบ้าง แล้วที่ไม่มีในคำคล้องจอง
เด็กยังรู้จักแปรงสีฟันชนิดไหนอีกบ้าง จากนั้นครูจดคำตอบของเด็กๆ ลงในแผ่นชาร์ต
จากนั้นมีรูป ถามเด็กเกี่ยวกับรูปภาพแปรงสีฟันที่ครูนำมา แล้วให้เด็กแยกประเภท
แล้วก็จับคู่1ต่อ1 จากนั้นให้เด็กหยิบนับ ถ้าชนิดไหนหใดก่อน แสดงว่าชนิดนั้นมีน้อยกว่า
แล้วก็จับคู่1ต่อ1 จากนั้นให้เด็กหยิบนับ ถ้าชนิดไหนหใดก่อน แสดงว่าชนิดนั้นมีน้อยกว่า
ขั้นสรุป
เด็กร่วมกันสรุปว่ารูปแปรงสีฟันที่ครูนำมามีชนิดไหนบ้าง สีอะไรบ้าง ชนิดไหนมากกว่ากัน
กลุ่มที่8 หน่วย "ผีเสื้อ"
ขั้นนำ
นำด้วยเพลง ผีเสื้อ
ผีเสื้อเอยแสนงาม ดอมดมกลิ่งดอกไม้
มีทั้งสีเขียว สีเหลืองมากมาย ชั่งดูสดใส สีม่วง สีแดงเอย
ขั้นสอน
นำรูปผีเสื้อมาให้เด็กดู แล้วถามเด็กว่าผีเสื้อชื่ออะไร แล้วให้เด็กๆสังเกตว่ามีสี ขนาด
รูปร่าง ส่วนประกอบ แล้วครูบันทึกลงในตาราง จากนั้นหาความสัมพันธ์เหมือนต่าง
รูปร่าง ส่วนประกอบ แล้วครูบันทึกลงในตาราง จากนั้นหาความสัมพันธ์เหมือนต่าง
ขั้นสรุป
ทบทวนลักษณะของผีเสื้อ
กลุ่มที่9 หน่วย "กล้วย"
ขั้นนำ
นำด้วยคำคล้องจอง กล้วย
กล้วยคือผลไม้ ใครๆก็ชอบกินกล้วย
ค้างคาวช้างลิงฉันก็ด้วย กินกล้วยมีวิตตามิน
ลัล ลา ลัล ลา...
ขั้นสอน
ครูนำภาพกล้วยชนิดต่างๆ มาให้เด็กดู จากนั้นให้เด็กแยกกล้วยหอมและไม่ใช่กล้วยหอม
แล้วให้เด็กหยิบออกและให้นับทีละหนึ่งต่อิหนึ่ง เพื่อเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า ถ้าชนิดไหน
หมดก่อนแสดงว่าน้อยกว่า แต่ถ้าชนิดไหนยังเหลือแสดงว่ามากกว่า
ขั้นสรุป
เด็กและครูร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับกล้วย
กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ให้ลงมือปฏิบัติทำ Cooking ทาโกยากิ
กิจกรรมที่ 2 เพื่อนออกมานำเสนอวิจัย มีหัวข้อดังนี้
1. ความสามารถของการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการกระบวนการวิทยาศาสตร์
นอกห้องเรียน
2. ผลจากการจัดประสบการณ์นอกห้องเรียนที่มีผลต่อการเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
วิธีการสอน ...
- อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มลงมือปฏิบัติเองทั้งหมด เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
และสามารถแกไขปัญหาต่างๆได้เอง และอาจารย์ให้ได้อธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษามีความ
เข้าใจเพิ่มมากขึ้น
ประเมินผล ...
ประเมินตนเอง : ในการนำเสนอแผนกดดันเล็กน้อย เนื่องจากกลุ่มดิฉันไม่ได้เตรียมตัว
มาดีเท่าไร ยังใช้ภาษาและคำถามไม่ค่อยดี ควรปรับปรุงและพยายามฝึกโดยใช้เทคนิค
การใช้คำถามให้มากๆ สนุกกับการทำขนมทาโกยากิ ครั้งต่อไปอยากให้มีการทำขนมอย่างอื่นอีก
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจฟังเวลาเพื่อนกลุ่มอื่นออกมานำเสนอแผนการสอนและนำเสนอวิจัย
สนุกกับการทำทาโกยากิ แต่เพื่อนๆไม่ค่อยทำตามข้อตกลงที่อาจารย์ให้เมื่อทำกิจกรรมจะเกิด
ความวุ่นวาย เนื่องจากทุกคนตื่นเต้นกับการทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิธีที่จะสอน เช่น ขั้นนำ ขั้นสอน
ขั้นสรุปกับนักศึกษาดีมาก และให้บางกลุ่มให้นำเสนออาทิตย์ต่อไปเพราะไม่ได้เตรียมการสอน
และอาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์มาเพื่อให้นักศึกษาทำทาโกยากิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น